Sunday, September 16, 2018

หน้า 11

                    เส้นทางการไหลของข้อมูล (data flow) เป็นการสื่อสารระหว่างขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมภายนอกหรือภายในระบบ โดยแสดงถึงข้อมูลที่นำเข้าและส่งออกไปในแต่ละที่ใช้อธิบายเส้นทางการไหลของข้อมูล คือ เส้นตรงที่ประกอบด้วยหัวลูกศร เพื่อบอกทิศทางการเดินทางหรือการไหลของข้อมูล

                    แผนภาพบริบท (context diagram)

                    เป็นแผนภาพกระแสข้อมูลระดับบนสุดที่แสดงภาพรวมทั้งหมดของระบบที่มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการเพียงกระบวนการเดียวนั่นคือ ระบบศึกษา  บุคคล ระบบภายนอก และการเคลื่อนที่ของข้อมูลจากภายนอกระบบสู่ระบบ



2.3 ออกแบบระบบ

          ออกแบบระบบ คือ ขั้นตอนการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ จากชั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยขั้นตอนนี้จะกำหนดขั้นตอนการทำงานโดยใช้แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน (flowchart) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (Entity Relationship Diagram : ER Diagram) พจานุกรมข้อมูล (data dictionary) หน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (Graphic User Interface : GUI) เทคโนโลยีต่าง ๆ นำมาใช้ในกระบวนการแก้ปัญหาต่าง ๆ ของระบบงาน ลักษณะการเขียนชุดตำสั่ง รวมถึงจำทำอกสารการออกแบบระบบ เช่น ลักษณะการจัดเก็บข้อมูลสมาชิก เป็นต้น

หน้า 12

2.4 พัฒนาระบบ และทดสอบระบบ

          พัฒนาระบบ และทดสอบระบบ คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาระบบโดยดำเนินงานตามการออกแบบจากขั้นตอนการออกแบบระบบ เช่น การเขียนชุดคำสั่งต่าง ๆ เพื่อสร้างซอฟต์แวร์
การสร้างฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล จัดทำเองสารการพัฒนาระบบ รวมถึงการทดสอบระบบงานว่าสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง และตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานจากขั้นตอนการวิเคาระห์ระบบหรือไม่ โดยทดสอบระบบในสภาพแวดล้อมจำลองและสภาพแวดล้อมจริง เป็นต้น

2.5 ติดตั้งระบบ

           ติดตั้งระบบ คือ ขั้นตอนการนำซอฟต์แวร์และระบบงานใหม่ที่เสร็จสมบูรณ์มาติดตั้งในสภาพแวดล้อมการทำงานจริง จัดทำเอกสารการติดตั้งระบบงานใหม่และคู่มือการใช้งาน จัดฝึกอารมผู้ใช้งาน ดำเนินการใช้ระบบงานใหม่นั้น ควรใช้งานควบคู่กับระบบงานใหม่ เพื่อหาจุดบกพร่องต่าง ๆ ซึ่งการใช้งานระบบงานใหม่นั้น ควรใช้งานควบคู่กับระบบงานเดิม (กรณีที่มีระบบงานเดิม) โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน และเปรียบเทียบผมลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ หากถูกต้องตรงกันจึงระบบงานเดิมออก แล้วใช้งานระบบงานใหม่แทนที่

2.6 บำรุงรักษาระบบ

          บำรุงรักษาระบบ คือ ขั้นตอนการดูแลระบบต่าง ๆ เช่น การแก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง การเพิ่มเติมความสามารถของระบบ การปรับเปลี่ยนการทำงานบางประการให้ทันสมัยมากขึ้น เป็นต้น จากขั้นตอนการพัฒนาโครงงานทางเทคโนโลยีสามารถนำเอาหลักแนวคิดเชิงคำนวณเข้าไปประยุกต์ใช้ตั้งแต่การกำหนดปัญหาหลักใหญ่ของโครงงาน และแยกแยะปัญหาเป็นปัญหาย่อย จากนั้นทำการหารูปแบบในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

หน้า 10

ตารางที่ 1.2 สัญลักษณ์ ในการวาดแผนภาะกระแสข้อมูล



                    ขั้นตอนการดำเนินงาน (process)  เป็นงานที่ดำเนินการตอบสนองข้อมูลที่รับเข้า หรือดำเนินการตอบสนองต่อเงื่อนไขสภาวะใด ๆ  ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะกระทำโดยบุคคล หน่วยงานหุ่นยนต์ เครื่องจักร หรือเครืิ่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม

                    แหล่งจัดเก็บข้อมูล (data store) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลและบันทึก เปรียบเสมือนคลังข้อมูลข้อมูล (เทียบเท่ากับไหล์ข้อมูล และฐานข้อมูล) โดยอธิบาย คือ สี่เหลี่ยมเปิดหนึ่งข้าง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ทางด้านซ้าย ใช้แสดงรหัสของ data store โดยอาจจะเป็นหมายเลขลำดับหรือตัวอักษรได้ D1 D2 เป็นต้น สำหรับส่วนที่ 3ทางด้านขวาใช้แสดงชื่อ data store หรือชื่อไฟล์

                    ตัวแทนข้อมูล(external agents) หมายถึง บุคคล หน่วยงานในองค์กร องค์กรอื่นๆ หรือระบบงานอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตของระบบ แต่มีความสัมพันธ์กับระบบ โดยมีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ แต่มีความสัมพันธ์กับระบบ โดยมีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อดำเนินงาน และรับข้อมูลที่ผ่านการดำเนินงานเรียบร้อยแล้วออกจากระบบ สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบาย คือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในจะต้องแสดงชื่อตัวแทนข้อมูล โดยสามารถทำซ้ำได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย / (back slash) ตรงมุมล่างซ้าย




Tuesday, September 4, 2018

แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)

 แนวคิดเชิงคำนวณ

         แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนาณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการแก้ไข้ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยการเข้าใจปัญหาที่ทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้

แนวคิดเชิงคำนวณ


1 แนวคิดดารแยกย่อย (Decomposition)

แนวคิดการแยกย่อย เช่น แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้จัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น

2 แนวคิดการจดจำรูปแบบ
    (Pattern Recognition)

แนวคิดการจดจำรูปแบบ เพื่อดูความเหมือนความแตกต่างของรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทราบแนวโน้มเพื่อทำนายไปข้าหน้าได้

3 แนวคิดเชิงนามธรรม
 (Abstraction)

แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นทักษะสำคัญที่มุ่งเน้นความสำคัญของปัยหา โดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และต่อยอดให้เกิดแบบจำลองหรือสูตร

4 แนวคิดการออกแบบขั้นตอน
 (Algorithm Design)

แนวคิดการออกแบบขั้นตอนในการแก้ปัญหา ทำให้ทราบว่าจะต้องทำอะไรก่อนอะไรหลัง